โครงสร้างข้อสอบ
-
ข้อสอบ A-Level 85 Jpn ภาษาญี่ปุ่น
-
เป็นการวัดสมรรถนะการใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสื่อสาร ประกอบด้วย
- จำนวน: 50 ข้อ
-
ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)
ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที
ตัวอย่างข้อสอบ
-
1. ความสามารถในการใช้ไวยากรณ์พื้นฐาน
คำตอบ
เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการใช้ไวยากรณ์พื้นฐาน : อกรรมกริยา สกรรมกริยา และคำช่วย
ระดับการวัด ระดับความยาก
ความเข้าใจ
ปานกลางเฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
อ่านแล้วเลือกคำตอบที่เหมาะสมเติมลงในช่องว่าง
- อกรรมกริยา ใช้บอกสภาพ ในรูป 「คำนาม がอกรรมกริยารูป ている/ています。」 電気がつく “ไฟเปิดอยู่” つくเป็นอกรรมกริยา เวลาใช้บอกสภาพ ต้องผันเป็นรูปているเป็น電気がついています。
- 「คำกริยารูป ておく/ておきます。」มีความหมายว่า ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเตรียมไว้ หรือทำทิ้งไว้ในสภาพนั้น ใช้กับคำกริยาแสดงการกระทำ เมื่อใช้ในรูป「คำกริยารูป てください。」เป็น 「คำกริยารูป ておいてください。」เป็นคำสั่งแบบสุภาพขอให้ทำทิ้งไว้อย่างนั้น กริยาแสดงการกระทำในข้อนี้ คือ電気をつける“เปิดไฟ” จึงเป็น (電気を)つけておいてください“ช่วยเปิด(ไฟ)ทิ้งไว้อย่างนั้น”
คำแปลบทสนทนา
ยามาดะ : เอ๊ะ ไฟเปิดอยู่ ปิดเลยนะ
อุเอโนะ : เดี๋ยวจะใช้อีก เปิดทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ
-
2. ความสามารถในการสื่อสาร
คำตอบ
เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการสื่อสาร : สำนวนทักทายทั่วไป
ระดับการวัด ระดับความยาก
การนำไปใช้
ปานกลางเฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
อ่านแล้วเลือกคำตอบที่เหมาะสมเติมลงในช่องว่าง
ตัวเลือกข้อ 1. ผิด เพราะทานากะถามว่า “สบายดีไหม” ขัดแย้งกับคำตอบของซาโต้ที่ว่า “ผมก็เพิ่งมาได้ 5 นาที”
ตัวเลือกข้อ 2. ผิด เพราะทานากะพูดว่า “ด้วยความกรุณาของคุณ” ขัดแย้งกับคำตอบของซาโต้ที่ว่า “ผมก็เพิ่งมาได้ 5 นาที”
ตัวเลือกข้อ 3. ผิด เพราะทานากะพูดว่า “ไม่เจอกันนานเลยนะ” ขัดแย้งกับคำตอบของซาโต้ที่ว่า “ผมก็เพิ่งมาได้ 5 นาที”
ตัวเลือกข้อ 4. ถูก เพราะทานากะพูดว่า “ขอโทษที่มาช้าครับ” สอดคล้องกับคำตอบของซาโต้ที่ว่า “ผมก็เพิ่งมาได้ 5 นาที”
คำแปลบทสนทนา
ซาโต้ : คุณทานากะ ทางนี้ครับ
ทานากะ : ขอโทษที่มาช้าครับ
ซาโต้ : ผมก็เพิ่งมาได้ 5 นาที
-
3. ความสามารถในการเขียน
คำตอบ
เนื้อหาที่วัดตามโครงสร้าง : ความสามารถในการเขียน : ประโยคขัดแย้งที่ใช้คำสันธาน のに
ระดับการวัด ระดับความยาก
การสังเคราะห์
ยากเฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม
อ่านแล้วเลือกคำตอบที่เหมาะสมเติมลงในช่องว่าง
ตัวเลือกข้อ 1. ผิด เพราะ “ทั้งที่เป็นวันก่อนวันสอบ ลูกชายก็ตั้งใจทบทวน” การใช้คำสันธาน のにเนื้อความท่อนหลังต้องมีความหมายขัดแย้งกับท่อนหน้า ในข้อนี้เนื้อความท่อนหลังสอดคล้องกับท่อนหน้า
ตัวเลือกข้อ 2. ถูก เพราะ “ทั้งที่เป็นวันก่อนวันสอบ ลูกชายก็เล่นอยู่จนดึก” เป็นการใช้ のにแสดงความขัดแย้ง
ตัวเลือกข้อ 3. ผิด เพราะ “ทั้งที่เป็นวันก่อนวันสอบ ลูกชายก็พยายามอ่าน” การใช้ のにเนื้อความท่อนหลังต้องมีความหมายขัดแย้งกับท่อนหน้า ในข้อนี้เนื้อความท่อนหลังสอดคล้องกับท่อนหน้า
ตัวเลือกข้อ 4. ผิด เพราะ “ทั้งที่เป็นวันก่อนวันสอบ ลูกชายรีบไปโรงเรียนดีกว่า” การใช้ のにเนื้อความท่อนหลังต้องมีความหมายขัดแย้งกับท่อนหน้า ในข้อนี้เนื้อความท่อนหลังเป็นการแนะนำ