A-Level 63 Sci วิทยาศาสตร์ประยุกต์

วัดการประยุกต์ใช้ความรู้ซึ่งมีเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

โครงสร้างข้อสอบ

  • ข้อสอบ A-Level 63 Sci วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

  • ส่วนที่ 1 : วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

    1) ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

    2) การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์

    3) การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

    4) ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์

    5) การดำรงชีวิตของพืช

    6) พันธุกรรมและวิวัฒนาการ

    จำนวน: 7-9 ข้อ
  • ส่วนที่ 2 : วิทยาศาสตร์กายภาพ

    1) อะตอมและสมบัติของธาตุ

    2) สารโคเวเลนต์

    3) สารประกอบไอออนิก

    4) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน

    5) พอลิเมอร์

    6) ปฏิกิริยาเคมี

    7) สารกัมมันตรังสี

    8) การเคลื่อนที่และแรง

    9) แรงในธรรมชาติ

    10) พลังงานทดแทน

    11) คลื่นกล

    12) เสียง

    13) แสงสี

    14) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

    จำนวน: 14-16 ข้อ
  • ส่วนที่ 3 : วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ

    1) เอกภพและกาแล็กซี

    2) ดาวฤกษ์

    3) ระบบสุริยะ

    4) เทคโนโลยีอวกาศ

    5) โครงสร้างโลก

    6) การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี

    7) ธรณีพิบัติภัย

    8) การเกิดลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

    9) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

    10) ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา

    จำนวน: 6-8 ข้อ
  • ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก) / เลือกตอบเชิงซ้อน

    รูปแบบการเลือกตอบเชิงซ้อน

    • ตอบถูกทั้ง 3 ข้อย่อย ได้คะแนนเต็ม 4.2 คะแนน
    • ตอบถูก 2 ข้อย่อย ได้คะแนน 2.1 คะแนน
    • หากตอบถูกเพียง 1 ข้อย่อย ได้คะแนน 0 คะแนน

    ระยะเวลาที่ใช้สอบ 90 นาที

  • หมายเหตุ

    1) ข้อสอบบางข้อมีการบูรณาการระหว่างเนื้อหา
    2) ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ สามารถศึกษาได้จาก เอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จาก เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

จำนวนข้อ

ปรนัย 5 ตัวเลือก / 83.2 คะแนน
26 ข้อ
เลือกตอบเชิงซ้อน / 16.8 คะแนน
4 ข้อ
รวม30 ข้อ
คะแนนเต็ม
100 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ

  • ตัวอย่างที่ 1 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

    สารขนาดเล็ก 3 ชนิด มีสมบัติที่แตกต่างกันและมีความเข้มข้นของสารภายในและภายนอกเซลล์ก่อนเริ่มลำเลียงเข้าสู่เซลล์ ดังตาราง

    ข้อใดระบุวิธีการลำเลียงสารแต่ละชนิดเข้าสู่เซลล์ได้ถูกต้อง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    สารขนาดเล็กสามารถลำเลียงเข้าสู่เซลล์ได้หลายวิธี ได้แก่

    การแพร่แบบธรรมดา เป็นการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง โดยมีทิศทางการลำเลียงจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ

    ออสโมซิส เป็นการแพร่ของน้ำเข้าและออกจากเซลล์ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยมีทิศทางการลำเลียงจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ (โมเลกุลของน้ำมาก) ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูง (โมเลกุลของน้ำน้อย)

    การแพร่แบบฟาซิลิเทต เป็นการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ผ่านโปรตีนลำเลียงที่แทรกอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ โดยมีทิศทางการลำเลียงจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ

    การลำเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต เป็นการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ผ่านโปรตีนลำเลียงที่แทรกอยู่บน
    เยื่อหุ้มเซลล์โดยใช้พลังงานจากภายในเซลล์ ทำให้สามารถมีทิศทางการลำเลียงจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงได้

    จากข้อมูลสามารถสรุปได้ดังนี้

  • ตัวอย่างที่ 2 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

    ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนอนุภาคมูลฐานบางส่วนของธาตุสมมุติ และ เป็นดังนี้


    ข้อใดไม่ถูกต้อง

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากข้อมูลสามารถระบุจำนวนอนุภาคมูลฐานของธาตุสมมติ X W และ Z ได้ดังนี้

  • ตัวอย่างที่ 3 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

    รถคันหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวตรงจากหยุดนิ่ง โดยทุก ๆ 2 วินาที รถคันนี้มีความเร็วเพิ่มขึ้น 3.0 เมตรต่อวินาที ตลอดช่วง 10 วินาทีแรก
    หลังจากนั้นรถคันนี้เคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร็วคงตัว

    ในช่วง 10 วินาทีแรก รถคันนี้มีขนาดความเร่งเฉลี่ยเท่าใด และในช่วงที่รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว รถจะต้องใช้เวลาเท่าใดจึงจะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 75 เมตร ในช่วงความเร็วคงตัวนี้

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ขนาดความเร่งเฉลี่ยของรถหาได้จากอัตราส่วนระหว่างขนาดของการเปลี่ยนแปลงความเร็วต่อเวลา
    ข้อมูลระบุว่า ทุก ๆ 2 วินาที รถมีความเร็วเพิ่มขึ้น 3.0 เมตรต่อวินาที หรือเท่ากับทุก ๆ 1 วินาที
    ความเร็วเพิ่มขึ้น 1.5 เมตรต่อวินาที โดยที่การเปลี่ยนแปลงความเร็วนี้มีค่าคงตัวตลอด 10 วินาทีแรก
    ของการเคลื่อนที่ จึงสรุปได้ว่า ในช่วง 10 วินาทีแรก รถคันนี้มีขนาดความเร่งเฉลี่ย 1.5 เมตรต่อวินาที²
    สำหรับการเคลื่อนที่หลังจากเวลาผ่านไป 10 วินาที รถจะมีความเร็วคงตัว 15 เมตรต่อวินาที
    ดังนั้น ในการเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 75 เมตร จะต้องใช้เวลา = 5.0 วินาที

  • ตัวอย่างที่ 4 รูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 1 คำตอบ

    สัญลักษณ์และชื่อสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้าง เป็นดังตาราง

    หากในช่วงเวลาหนึ่ง พื้นที่ 3 บริเวณ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบสภาพลมฟ้าอากาศดังนี้
    พื้นที่ A เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมแรง
    พื้นที่ B มีอากาศเย็น และมีท้องฟ้าปลอดโปร่ง
    พื้นที่ C มีอากาศชื้น และมีเมฆมาก
    ข้อใดระบุสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างที่มีโอกาสพบบนแผนที่อากาศผิวพื้นของพื้นที่ทั้ง 3 บริเวณ
    ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกต้องทั้งหมด

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    จากข้อมูลสภาพลมฟ้าอากาศในสถานการณ์ สามารถทำนายสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างที่มีโอกาสพบบนแผนที่อากาศผิวพื้นของพื้นที่ทั้ง 3 บริเวณ ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ดังนี้

    “พื้นที่ A เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมแรง” จะมีโอกาสพบสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างบนแผนที่อากาศผิวพื้นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ และ เนื่องจาก และ คือ พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่น/ พายุไซโคลน ตามลำดับ และ คือ แนวปะทะอากาศเย็น แนวปะทะอากาศรวม และร่องความกดอากาศต่ำ ตามลำดับ หากพบสัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฏอยู่บริเวณใดบนแผนที่อากาศผิวพื้น หมายความว่า พื้นที่บริเวณนั้นจะมีลมแรงและมีฝนฟ้าคะนอง

    “พื้นที่ B มีอากาศเย็น และมีท้องฟ้าปลอดโปร่ง” จะมีโอกาสพบสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างบนแผนที่อากาศผิวพื้นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ คือ ความกดอากาศสูง หากพบสัญลักษณ์นี้ปรากฏอยู่บริเวณใดบนแผนที่อากาศผิวพื้น หมายความว่า พื้นที่บริเวณนั้นจะมีอากาศเย็น มีความชื้นต่ำ และมักพบท้องฟ้าปลอดโปร่ง แจ่มใส

    “พื้นที่ C มีอากาศชื้น และมีเมฆมาก” จะมีโอกาสพบสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างบนแผนที่อากาศผิวพื้นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ คือ ความกดอากาศต่ำ ถ้าสัญลักษณ์นี้ปรากฏเหนือแผ่นดิน หมายความว่า บริเวณนั้นจะมีอากาศร้อนและความชื้นต่ำ แต่ถ้าสัญลักษณ์นี้ปรากฏเหนือทะเล หมายความว่า บริเวณนั้นจะมีอากาศชื้นและมีโอกาสเกิดเมฆมาก

  • ตัวอย่างที่ 5 รูปแบบเลือกตอบเชิงซ้อน

    โครงสร้างโลกตามองค์ประกอบทางเคมีแบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้น A B และ C ดังภาพ

    หมายเหตุ ภาพไม่เป็นไปตามสัดส่วนจริง

    ข้อความต่อไปนี้ถูกต้องใช่หรือไม่

    คำตอบ

    คลิกเพื่อดูเฉลย →

    เฉลย/เหตุผลและแนวคิดในการตอบคำถาม

    ตัวเลือกข้อ 1. ไม่ใช่ 2. ไม่ใช่ 3. ใช่

    คำอธิบาย

    1. ไม่ใช่ เนื่องจากหินแปลกปลอมที่ถูกพาขึ้นมาพร้อมกับลาวา เป็นเศษหินแข็ง ซึ่งจากการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี
    พบว่า หินแปลกปลอมโดยส่วนใหญ่มีองค์ประกอบเป็นซิลิกอน เหล็กและแมกนีเซียม
    ซึ่งคล้ายกับโครงสร้างโลกชั้น B (เนื้อโลก)
    นอกจากนี้ ยังพบหินแปลกปลอมอีกกลุ่มหนึ่งที่มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิกอนและแมกนีเซียม
    ซึ่งคล้ายกับโครงสร้างโลกชั้น C (เปลือกโลก) จากการที่แมกมาหรือลาวามีกำเนิดมาจากเนื้อโลกตอนบน
    นักวิทยาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่าหินแปลกปลอมที่มีองค์ประกอบคล้ายกับโครงสร้างโลกชั้น B
    มีกำเนิดมาจากโครงสร้างโลกชั้น B และจัดเป็นหินแปลกปลอมระดับลึก
    ส่วนหินแปลกปลอมที่มีองค์ประกอบคล้ายกับโครงสร้างโลกชั้น C มีกำเนิดมาจากโครงสร้างโลกชั้น C
    และจัดเป็นหินแปลกปลอมระดับตื้น และการที่แมกมาหรือลาวามีกำเนิดมาจากเนื้อโลกตอนบน
    จึงไม่สามารถพาเอาหินแปลกปลอมจากโครงสร้างโลกชั้น A (แก่นโลก) ขึ้นมาได้

    2. ไม่ใช่ เนื่องจากโครงสร้างโลกชั้น C คือ ชั้นเปลือกโลก ประกอบด้วย เปลือกโลกทวีป และเปลือกโลกมหาสมุทร
    โดยเปลือกโลกมหาสมุทรมีองค์ประกอบหลักเป็นสารประกอบของซิลิกอนและแมกนีเซียม
    จึงมีความหนาแน่นมากกว่าเปลือกโลกทวีป ซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นสารประกอบของซิลิกอนและอะลูมิเนียม
    ดังนั้น คลื่นปฐมภูมิ ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากได้ดีกว่าตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย
    จึงเคลื่อนที่ผ่านเปลือกโลกมหาสมุทรด้วยความเร็วสูงกว่าเมื่อเคลื่อนที่ผ่านเปลือกโลกทวีป

    3. ใช่ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า อุกกาบาตเหล็กและโลกเกิดขึ้นมาพร้อมกับการกำเนิดระบบสุริยะ
    โดยอุกกาบาตเหล็กมีความหนาแน่นใกล้เคียงกับความหนาแน่นของแก่นโลกที่ได้คำนวณไว้
    ดังนั้น อุกกาบาตเหล็กจึงควรมีองค์ประกอบหลักทางเคมีคล้ายกับโครงสร้างโลกชั้น A

หมายเหตุ: "โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ" เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบของผู้เข้าสอบเท่านั้น มิได้หมายความว่า ข้อสอบในปีปัจจุบันจะต้องกำหนดระดับความถูกต้องของคำตอบเหมือนกันทุกประการ